วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ประสบการณ์สุนทรียะ
ประสบการณ์สุนทรียะต่างกับประสบการณ์อื่น ๆ ตรงที่เราจัดหาให้ตัวเราเอง เลือกเองไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เมื่อเกิดขึ้นแก่เราแล้ว ทำให้เราเพลิดเพลิน พึงพอใจ เกิดความอิ่มเอิบใจ ไม่หวังสิ่งใดตอบแทน เช่น การเดินเล่น การชมนิทรรศการ ดูภาพยนตร์ ชมภูมิประเทศ สัมผัสธรรมชาติ ชมการประกวดกล้วยไม้ การอ่านนวนิยาย การฟังเพลง ชมการแสดงต่าง ๆ ฯลฯ ประสบการณ์สุนทรียะเหล่านี้ เรามีความ
เต็มใจที่จะได้รับรู้ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่สังคมจัดขึ้น หรือเราเลือกกิจกรรมนี้สำหรับตัวเราเอง กล่าวได้ว่า เป็นประกบการณ์ที่บังคับกันไม่ได้ เกิดจากความต้องการหรือความอยากของเราเอง
ประสบการณ์สุนทรียะที่เราเลือกหาให้แก่ตัวเราเอง มักอดไม่ได้ที่จะเผื่อแผ่ผู้อื่นที่มีความสนใจคล้าย ๆ กับเรา เพื่อให้เขาได้ร่วมรู้สึกเบิกบานยินดี และมีความสุขด้วย สอดคล้องกับความจริงที่ว่า เมื่อรับอะไรเข้าไปแล้ว ก็จะพยายามถ่ายทอดออกมาเพื่อรักษาให้อยู่ในสภาพสมดุล
ประสบการณ์สุนทรียะกับความเป็นจริง
ประสบการณ์สุนทรียะเป็นการรับรู้ที่ไม่หวังผล ดังนั้นจึงไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นจริงแต่อย่าใด เช่น เราหิวจริง ๆ เมื่อกินอาหารจานใดก็รู้สึกอร่อยไปหมด รสอร่อยไม่ถือว่าเป็นประสบการณ์สุนทรียะ เพราะเป็นการตอบสนองความหิวของเรา ถ้าเราแยกความหิวที่เป็นความรู้สึกจริงออกได้ กินอาหารจานนั้นแล้วรู้สึกว่ามีรสอร่อยอาจเพียงคำเดียว หรือสองสามคำก็พอ เรียกได้ว่า เราหาประสบการณ์สุนทรียะสำหรับความสุขของเราได้แล้ว
เช่นเดียวกับการชมภาพยนตร์ชีวิต รู้สึกกินใจ ซึ้งใจในการแสดงของดารา ถือว่าเราหาประสบการณ์สุนทรียะให้แก่ตัวเรา และภาพยนตร์ชีวิตนั้น เราก็รู้ดีว่าไม่ใช่ชีวิตจริง ๆ ของผู้แสดง หรือชีวิตจริง ๆ ตามความเป็นอยู่ ถ้าใครต้องการรู้ความจริงก็ไปดูสภาพชีวิตจริง ดีกว่าไปดูภาพยนตร์ชีวิต ดังนั้นความเป็นจริงกับประสบการณ์สุนทรียะมีส่วนคล้ายคลึงกันเพียงส่วนน้อย และแตกต่างกันคนละโลกทีเดียว
เมื่อเราไปชมนิทรรศการจิตรกรรม เห็นทิวทัศน์ คลอง หรือหมู่บ้านชนบท เราดูเฉย ๆ คงไม่รู้สึกชื่นชม หรือได้รับประสบการณ์สุนทรียะแต่อย่างใด ตรงกันข้าม ขณะดูเราใช้จินตนาการของเราประกอบด้วย ก็รู้สึกว่าผู้สร้างเขาระบายสีได้กลมกลืนน่าชื่นชม สำหรับความคิดที่ว่าจะต้องเป็นภูมิภาพจริง ๆ หรือไม่นั่น ไม่ควรนำมาประกอบการดูของเรา เพราะการดู หรือมองเห็นของเราที่จะก่อให้เกิดประสบการณ์สุนทีรยะนั้น แนวทางหนึ่งก็คือ ควรเป็นการดูตามสีแสงและจังหวะ ที่เร้าให้เรารู้สึก หรือพิจารณาตามคุณสมบัติดังได้กล่าวแล้ว ซึ่งจะต่างกับการดูธรรมดา ๆ ที่ต้องการจะรู้เรื่อง สำหรับประสบการณ์สุนทรียะ ควรเป็นการดูพร้อมกับจินตนาการไปด้วย
จินตนาการ เป็นผลพวงของประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้นแก่เราก่อน หมายถึง เมื่อเรารับรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยตรงก่อนแล้ว ความผูกพัน ความกินใจ ยังตรึงแน่นในการรับรู้ของเราภายหลังจึงเกิดความคิดจินตนาการขึ้นว่า ถ้ามีงานต้องทำมาก่อนว่ามีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ต่อมาก็จินตนาการขึ้นว่า ถ้ามีงานต้องทำมากคนควรจะมีมือมากกว่าสองมือ หรือมีตามากกว่าสองตา เรื่องจินตนาการเป็นคนละเรื่องกันระหว่าง ความเป็นจริงกับประสบการณ์สุนทรียะ
ประสบการณ์สุนทรียะ มีความสัมพันธ์กับชีวิตเรามาก เพราะช่วยให้เราคลายจากโลกแห่งความเป็นจริง เข้าไปสัมผัสกับโลกของความสุขทางอารมณ์ ซึ่งจะช่วยประคองสุขภาพจิตให้มีพลัง รู้จักใช้เวลาว่างไม่เคร่งเครียดจนร่างกายบอบช้ำ ดังนั้นประสบการณ์สุนทรียะ จึงเป็นการรับรู้ที่กินใจทำให้เรามีความสุข โดยไม่หวังอะไรตอบแทน

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550

1. สุนทรียศาสตร์คืออะไร
ตอบ วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของความงาม คุณค่าแห่งความงามของสิ่งต่างๆที่อยู่ล้อมรอบตัวเรา

2. สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์และสังคมอย่างไร
ตอบ 1. ส่งเสริมกระบวนการคิดการตัดสินความงามอย่างสมเหตุสมผล
2. ช่วยกล่อมเกลาให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุผล
3. เสริมสร้างประสบการณ์สุนทรียะให้กว้างขวางเพื่อการดำรงอยู่อย่างสันติสุข
4. ส่งเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงามของสิ่งต่างๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรม
และนามธรรม
5. ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสภาพสิ่งการบูรณาการเพื่อการประยุกต์ใช้ให้เห็น
ประโยชน์กับชีวิตประจำวันด้วยเหตุผลและความรู้สึกที่สอดคล้องกัน

3. สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพพยาบาลอย่างไร
ตอบ วิชาชีพพยาบาลใช้สุนทรียศาสตร์ในเรื่องของการบำบัด เช่น ใช้บำบัดคนไข้โรคจิต อาจ
ใช้ในรูปของดนตรีหรือเสียงเพลง คนที่เป็นพยาบาลจะต้องมีความงดงามในจิตใจเพื่อที่
จะถ่ายทอดทางอารมณ์และพฤติกรรมที่ดีขณะปฏิบัติหน้าที่ดูแลคนไข้