วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

1. ความหมายของคำว่าสุนทรียศาสตร์
สุนทรียศาสตร์มีผู้ให้ความหมายของคำไว้หลายท่านดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. สุนทรีศาสตร์เป็นปรัชญาสาขาหนึ่ง ที่ว่าด้วยความงามและสิ่งที่งามทั้งในงานศิลปะและในธรรมชาติ โดยศึกษาประสบการณ์ คุณค่าความงามและมาตรฐานในการวินิจฉัยว่า อะไรงาม อะไรไม่งาม (ราชบัณฑิตยสถาน, 2532 : 4)
2. สุนทรียศาสตร์ เป็นวิชาว่าด้วยสิ่งที่สวยงามหรือไพเราะ คำว่า Aesthetics มาจากภาษากรีกว่า Aisthetikos = รู้ได้ด้วยผัสสะ สุนทรียธาตุ (Aesthetics Elements) ซึ่งมีอยู่ 3 อย่างคือ (กีรติ บุญเจือ, 2522 : 263)

ความงาม (Beauty)
ความแปลกหูแปลกตา (Picturesqueness)
และความน่าทึ่ง (Sublimity)
3. สุนทรียศาสตร์เดิมเรียกว่าวิทยาศาสตร์ของเยอรมัน (The German Science) เนื่องจากตลอดระยะสองศตวรรษที่ผ่านมา เยอรมันมีผลงานทางด้านสุนทรียศาสตร์มากว่าผลงานของประเทศอื่น ๆ สามประเทศรวมกัน ผลงานด้านสุนทรียศาสตร์ของเยอรมัน มีทั้งความเรียง วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก วิทยานิพนธ์ปริญญาโท และความความที่เกี่ยวข้องมากมาย ปราชญ์ของประเทศอื่นไม่มีใครกล่าวถึงความงาม (Beauty) แต่ประการใด สุนทรียศาสตร์เริ่มมีความหมายแบบสมัยใหม่ในลักษณะเป็นสาขาของปรัชญา เริ่มจากเรื่อง The Aesthetica ของเบาว์มการ์เทน (Alexander Gottieb Baumgarten) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1750 (Schiller, 1974 : 4-5) ซันตายานา (George Santayana) กล่าวว่าการที่สุนทรียศาสตร์ได้รับความสนใจน้อยไม่ใช่เพราะวิชาสุนทรียศาสตร์ไม่สำคัญ แต่เป็นเพราะมนุษย์ขาดแรงจูงใจที่จะเก็งความจริงและใช้ความพยายามน้อยไปที่จะทำการศึกษา ความสำเร็จจึงน้อยไปด้วย (Santayana, 1896 : 6)

ก่อนหน้าที่ เบาว์มการ์เทน จะบัญญัติศัพท์คำว่า "สุนทรียศาสตร์" ขึ้นมาเป็นเวลา 2000 กว่าปี นักปราชญ์สมัยกรีก เช่น เพลโต อริสโตเติล กล่าวถึงแต่เรื่องความงาม ความสะเทือนใจ ซึ่งเป็นความรู้สึกทางการรับรู้ (Sense Perception) ของมนุษย์ ปัญหาที่พวกเขาโต้เถียงกันได้แก่ ความงามคืออะไร ค่าของความงามนั้นเป็นจริงมีอยู่โดยตัวของมันเองหรือไม่ หรือว่าค่าของความงามเป็นเพียงความข้อความที่เราใช้กับสิ่งที่เราชอบ ความงามกับสิ่งที่งามสัมพันธ์กันอย่างไร มีมาตรการตายตัวอะไรหรือไม่ที่ทำให้เราตัดสินใจได้ว่าสิ่งนั้นงามหรือไม่งาม โบมการ์เด็น มีความสนใจในปัญหาเรื่องของความงามนี้มาก เขาได้ลงมือค้นคว้ารวบรวมความรู้เกี่ยวกับความงามที่กระจัดกระจายอยู่มาไว้ในที่เดียวกัน เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับความงามให้มีเนื้อหาสาระที่เข้มแข็งขึ้น แล้วตั้งชื่อวิชาเกี่ยวกับความงามหรือความรู้ที่เกี่ยวกับความรู้สึกทางการรับรู้ว่า Aesthetics โดยบัญญัติจากรากศัพท์ภาษากรีก Aisthetics หมายถึง ความรู้สึกทางการรับรู้ หรือการรับรู้ตามความรู้สึก (Sense perception) สำหรับศัพท์บัญญัติภาษาไทย ก็คือ "สุนทรียศาสตร์" จากนั้นวิชาสุนทรียศาสตร์ ก็ได้รับความสนใจเป็นวิชาที่มีหลักการเจริญก้าวหน้าขึ้น สามารถศึกษาได้ถึงระดับปริญญาเอก ด้วยเหตุผลนี้ โบมการ์เด็น จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งสุนทรียศาสตร์สมัยใหม่ฐานะที่เติมเชื้อไฟแห่งสุนทรียศาสตร์ที่กำลังจะมอดดับให้กลับลุกโชติช่วยขึ้นมาอีกวาระหนึ่ง (ทวีเกียรติ ไชยยงยศ. 2538 ; 1)


สุนทรียศาสตร์ (Aestheties) เป็นเนื้อหาว่าด้วยการศึกษาเรื่องมาตรฐานของความงามในเชิงทฤษฎีอันเกี่ยวกับประสบการณ์ทางสุนทรียภาพ กฎเกณฑ์ทางศิลปะ สุนทรียศาสตร์นับว่าเป็นแขนงหนึ่งของปรัชญาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การแสวงหาคุณค่า (Axiology) ในสมัยก่อนวิชานี้เป็นที่รู้จักกันในรูปของวิชา "ทฤษฎีแห่งความงาม (Theory of Beauty) หรือปรัชญาแห่งรสนิยม (Philosophy of taste)

คำว่า "สุนทรียศาสตร์" มาจากศัพท์ภาษาบาลีว่า"สุนทรียะ" แปลว่าดี งาม สุนทรียศาสตร์จึงมีความหมายตามรากศัพท์ว่าวิชาที่ว่าด้วยความงาม ในความหมายของคำเดียวกันนี้ นักปราชญ์ ชาวเยอรมันชื่อAisthetics Baumgarten (1718 - 1762) ได้เลือกคำในภาษากรีกมาใช้คำว่า Aisthetics ซึ่งหมายถึงการรับรู้ตามความรู้สึก (Sense Perception) เป็นวิชาเกี่ยวกับเรื่องทฤษฎีแห่งความงามตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Aesthetics ส่วนในภาษาไทยใช้คำว่าสุนทรียศาสตร์หรือวิชาศิลปะทั่วไป ดังนั้น จึงถือว่าศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของสุนทรียศาสตร์หรือเมื่อกล่าวถึงสุนทรียศาสตร์เมื่อใดก็มักจะเกี่ยวข้องกับงานศิลปะนั่นเอง

เนื้อหาของสุนทรียศาสตร์นั้นว่าด้วยคามคิดรวบยอดเรื่องความงาม การที่จะนิยามว่าความงามคืออะไรนั้นก็ยังไม่เป็นที่ยุติและเรื่องนี้ก็นับว่าเป็นปัญหาสำคัญของสุนทรียศาสตร์อย่างหนึ่ง แต่ปัญหาที่ว่าความงามคืออะไรนั้นนักศิลป์ทั่วไปไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าไรนัก แต่เขาจะพยายามทุ่มเททุกอย่างเพื่อสร้างความงามขึ้นด้วยศิลปะของเขา ซึ่งความสนใจดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นสัญชาติญาณของศิลป จุดมุ่งหมายของสุนทรียศาสตร์ก็คือความพยายามยกระดับของการสร้างสรรค์และความสนใจในศิลปะซึ่งเป็นไปตามสัญชาตญาณนั้นให้เป็นพฤติกรรมที่เต็มไปด้วยปัญญา ทั้งนี้ก็เพื่อให้เข้าใจถึงหลักการขั้นมูลฐานของพฤติกรรมเกี่ยวกับศิลปะ ดังนั้น สุนทรียศาสตร์จึงเริ่มเรื่องด้วยการพิจารณาเรื่องการสร้างสรรค์ศิลปะและความสนใจในศิลปะ คำตอบจากปัญหานี้ก็ได้จากการพยายามค้นหาความหมายของความงามนั่นเอง ความหมายของความงามก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้ของมนุษย์

จากประเด็นนี้จะเห็นได้ว่าหน้าที่ของนักสุนทรียศาสตร์ก็คือการค้นหาความหมายของความงามนั่นเอง แต่ก็มิได้หมายความว่าหน้าที่ของนักสุนทรียศาสตร์จะจำกัดอยู่แค่การค้นหาความหมายของศิลปะเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงความงามของธรรมชาติด้วย

ในปัจจุบันสุนทรียศาสตร์มีความหมายที่มีขอบเขต อิสระมากขึ้นความหมายของคำนี้ในทางวิชาการก็คือ เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการศึกษาศิลปะแขนงต่าง ๆ หลักการของศิลปะ กระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะ ประสบการณ์ทางศิลปะ นอกจากนี้ขอบเขตของความหมายยังได้ครอบคลุมไปถึงศิลปะกับชีวิตและสังคมร่วมทั้งความงามและปรากฏการณ์ที่งดงามของธรรมชาติอีกด้วย

เรื่องที่ถกเถียงกันมากในทางสุนทรียศาสตร์อีกอย่างหนึ่งก็คือ ตำแหน่งของความงาม หรือว่าความงามอยู่ที่ไหน ความงามนั้นไม่ว่าจะเป็นจิตวิสัยหรือวัตถุวิสัยก็ยังคงเป็นเรื่องที่ให้ความเห็นไม่ตรงกันอยู่นั่นเอง และทัศนะที่แตกต่างกันของนักสุนทรียศาสตร์เหล่านั้น ก็ก่อให้เกิดทฤษฎีทางความงามขึ้นหลาย ทฤษฎี ดังจะยกมาพอสังเขปดังนี้

ทฤษฎีความงาม

เรื่องที่ถกเถียงกันมากในทางสุนทรียศาสตร์อีกอย่างหนึ่งก็คือ ตำแหน่งของความงาม หรือว่าความงามอยู่ที่ไหน ความงามนั้นไม่ว่าจะเป็นจิตวิสัยหรือวัตถุวิสัยก็ยังคงเป็นเรื่องที่ให้ความเห็นไม่ตรงกันอยู่นั่นเอง และทัศนะที่แตกต่างกันของนักสุนทรียศาสตร์เหล่านั้น ก็ก่อให้เกิดทฤษฎีทางความงามขึ้นหลาย ทฤษฎี ดังจะยกมาพอสังเขปดังนี้

1. ความงามเป็นคุณสมบัติของวัตถุ
ผู้ที่เชื่อในทฤษฎีนี้ เชื่อว่าวัตถุต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีความงามในตัวของวัตถุเอง เช่น สวยเพราะสีสัน ทรวดทรง พื้นผิว ไม่ว่าเราจะสนใจวัตถุนั้นหรือไม่ การที่เราเริ่มให้ความสนใจในวัตถุนั้น ก็เป็นเพราะความงามของวัตถุนั้นนั่นเอง
บุคคลที่ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ท่านหนึ่งก็คือ อริสโตเติล (Aristotle. 384-322 B.C) ท่านได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับความงามที่เป็นวัตถุวิสัยนี้ว่า สุนทรีธาตุนั้นมีจริง โดยไม่ขึ้นกับความคิดของมนุษย์ สุนทรีธาตุ มีมาตรการตายตัวแน่นอนในตัวเอง ดังนั้น ความงามของวัตถุจึงเป็นความสมบูรณ์อันเกิดจากรูปร่าง รูปทรง สีสัน สัดส่วนที่ประกอบกันเข้าอย่างกลมกลืนมีความสมดุล จึงถือว่าความงามที่เป็นวัตถุวิสัยหรือสุนทรียธาตุนั้นเป็นความงามที่สมบูรณ์แบบ

2. ความงามคือความรู้สึกเพลิดเพลิน
แนวคิดตามทฤษฎีนี้กล่าวคือ การทีเราจะมองเห็นคุณค่าของความงามในสิ่งใด จิตจะเป็นตัวกำหนดความงาม
เพลโต (Plato 472 -347 B.C) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับเรื่องของความงามว่า ความงามที่แท้จริงนั้นอยู่ในโลกแห่งจินตนาการ (World of Idea) เขาเชื่อว่าความงามอยู่ที่จิตเป็นตัวกำหนด ส่วนความคิดนั้นอยู่ในห้วงแห่งจินตนาการที่อยู่นอกเหนือไปจากโลกนี้
กล่าวคือจิตต้องสร้างต้นแบบแห่งความงามขึ้น สิ่งใดที่มีลักษณะใกล้เคียงกับจินตนาการในต้นแบบมากเพียงใด ย่อมถือว่าเป็นความงามเพียงนั้น ความชอบความเพลิดเพลินในเป็นสิ่งแสดงถึงคุณค่าตามมา

3. ความงามเป็นสภาวสัมพัทธ์
นักคิดบางคนเชื่อว่าความงามไม่ใช่เป็นจิตวิสัยอย่างสิ้นเชิง และก็ไม่ใช่เป็นวัตถุวิสัยอย่างสิ้นเชิงเช่นกัน แต่เป็นภาวสัมพัทธ์ระหว่างวัตถุกับบุคคล ทัศนะนี้ก็นับว่ามีส่วนถูกต้องอยู่ที่การยอมรับว่าทั้งบุคคลและ วัตถุมีความสำคัญด้วยกันทั้งคู่ในการตีคุณค่าทางสุนทรียะ แต่เราก็ต้องยอมรับว่าความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งสองสิ่งดังกล่าวมาแล้วนั้นนั่นเอง ที่เป็นรากฐานรองรับคุณค่าทางสุนทรียะอย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าตัวความสัมพันธ์เองนั้นไม่ใช่เป็นตัวความงามหรือตัวคุณค่าทางสุนทรียะ เพราะฉะนั้นการที่จะอธิบายว่าความงามคือสภาวสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจึงเป็นคำอธิบายที่ไม่ถูกนัก

2. ความหมายของคำว่าสุนทรียภาพ

สุนทรีภาพ (Aesthetics) หมายถึง ความซาบซึ้งในคุณค่าของสิ่งที่งาม ไพเราะ หรือรื่นรมย์ ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ หรือศิลปะ (พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ. 2530 : 6) ซึ่งความรู้สึกซาบซึ้งในคุณค่าดังกล่าวนี้ย่อมจะเจริญเติบโตได้โดยประสบการณ์ หรือการศึกษา อบรม ฝึกฝน จนเป็นอุปนิสัยเกิดขึ้นเป็นรสนิยม (Taste) ขึ้นตามตัวบุคคล
ที่ว่าสุนทรียภาพ เป็นความรู้สึกจากการรับรู้ที่บริสุทธิ์ในห้วงเวลาหนึ่งนั้น ขออ้างนักปรัชญาชื่อเอมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant) ชาวเยอรมันที่กล่าวว่า "บางครั้งเราก็มีความรู้สึกมีความสุข เพื่อความสุขเท่านั้น" แปลความหมายได้ว่าเป็นความรู้สึกพอใจในอารมณ์ โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของ จอห์น ฮอสเปอร์ (John Hospers) ที่ว่า สุนทรียภาพ "เป็นลักษณะของประสบการณ์ที่ไม่มีผลในทางปฏิบัติ" นั่นก็หมายความว่า เมื่อเรามีสุนทรียภาพกับดอกกุหลาบเพราะเราเห็นความงามของมัน ดอกกุหลาบที่เบ่งบานอยู่กับต้นทำให้เราพอใจ เพลิดเพลิน ปิติปราโมทย์ มีความสุข ถ้าเราเด็ดดอกกุหลายนั้นไปขาย แสดงว่าเราไม่ได้มีสุนทรียภาพเพราะเราชอบดอกกุหลาบนั้นเพียงเพื่อจะขายเอาเงินเท่านั้น เป็นการชอบที่ไม่บริสุทธิ์ใจ เพราะผลที่ตามมาคือการทำลาย การที่จะตัดสินใจว่า ใครมีสุนทรียภาพหรือใครไม่มีสุนทรียภาพท่านว่าให้พิจารณาที่ท่าในตัวหรือค่านอกตัวของสิ่งนั้น ถ้าบุคคลมองเห็นค่าในตัวของวัตถุนั้นแสดงว่า มีสุนทรียภาพ ในทางตรงกันข้ามถ้าบุคคลนั้นมองเห็นค่านอกตัวของวัตถุมากกว่าค่าในตัวก็แสดงว่า มีสุนทรียภาพ ในทางตรงกันข้ามถ้าบุคคลนั้นมองเห็นค่านอกตัวของวัตถุมากกว่าค่าในตัวก็แสดงว่าบุคคลนั้นไม่มีสุนทรียภาพ ยกตัวอย่าง ความงามของหญิงสาว เรามองเห็นหญิงสาวแล้วพอใจจนเผลอใจ เพราะได้มองเห็นสัดส่วนในตัวผู้หญิง ว่าช่างพอเหมาะไปหมด (ค่าในตัว) ถึงกับเผลออุทานว่า "เธอช่างงดงามอะไรเช่นนั้น" อย่างนี้เรียกว่า มีสุนทรียภาพ เพราะเห็นค่าในตัวของหญิง แต่ถ้าในทางตรงกันข้าม เมื่อเรามองเห็นหญิงสาวแล้วคิดต่อไปว่า ถ้าเอาไปขายจะได้ราคาดี อย่างนี้เรียกว่าไม่มีสุนทรียภาพ เพราะมองไม่เห็นค่าในตัว แต่กลับไปเห็นค่านอกตัว คือ เงิน หรือเห็นหญิงงามแล้วเกิดความใคร่ขึ้นมาแสดงว่าเห็นค่านอกตัว คือ กามารมณ์ จัดว่าไม่มีสุนทรียภาพเช่นกัน (ทวีเกียรติ ไชยยงยศ. 2528 : 3)

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550




งานวันคริสมาสปี 48

วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ประสบการณ์สุนทรียะ
ประสบการณ์สุนทรียะต่างกับประสบการณ์อื่น ๆ ตรงที่เราจัดหาให้ตัวเราเอง เลือกเองไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เมื่อเกิดขึ้นแก่เราแล้ว ทำให้เราเพลิดเพลิน พึงพอใจ เกิดความอิ่มเอิบใจ ไม่หวังสิ่งใดตอบแทน เช่น การเดินเล่น การชมนิทรรศการ ดูภาพยนตร์ ชมภูมิประเทศ สัมผัสธรรมชาติ ชมการประกวดกล้วยไม้ การอ่านนวนิยาย การฟังเพลง ชมการแสดงต่าง ๆ ฯลฯ ประสบการณ์สุนทรียะเหล่านี้ เรามีความ
เต็มใจที่จะได้รับรู้ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่สังคมจัดขึ้น หรือเราเลือกกิจกรรมนี้สำหรับตัวเราเอง กล่าวได้ว่า เป็นประกบการณ์ที่บังคับกันไม่ได้ เกิดจากความต้องการหรือความอยากของเราเอง
ประสบการณ์สุนทรียะที่เราเลือกหาให้แก่ตัวเราเอง มักอดไม่ได้ที่จะเผื่อแผ่ผู้อื่นที่มีความสนใจคล้าย ๆ กับเรา เพื่อให้เขาได้ร่วมรู้สึกเบิกบานยินดี และมีความสุขด้วย สอดคล้องกับความจริงที่ว่า เมื่อรับอะไรเข้าไปแล้ว ก็จะพยายามถ่ายทอดออกมาเพื่อรักษาให้อยู่ในสภาพสมดุล
ประสบการณ์สุนทรียะกับความเป็นจริง
ประสบการณ์สุนทรียะเป็นการรับรู้ที่ไม่หวังผล ดังนั้นจึงไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นจริงแต่อย่าใด เช่น เราหิวจริง ๆ เมื่อกินอาหารจานใดก็รู้สึกอร่อยไปหมด รสอร่อยไม่ถือว่าเป็นประสบการณ์สุนทรียะ เพราะเป็นการตอบสนองความหิวของเรา ถ้าเราแยกความหิวที่เป็นความรู้สึกจริงออกได้ กินอาหารจานนั้นแล้วรู้สึกว่ามีรสอร่อยอาจเพียงคำเดียว หรือสองสามคำก็พอ เรียกได้ว่า เราหาประสบการณ์สุนทรียะสำหรับความสุขของเราได้แล้ว
เช่นเดียวกับการชมภาพยนตร์ชีวิต รู้สึกกินใจ ซึ้งใจในการแสดงของดารา ถือว่าเราหาประสบการณ์สุนทรียะให้แก่ตัวเรา และภาพยนตร์ชีวิตนั้น เราก็รู้ดีว่าไม่ใช่ชีวิตจริง ๆ ของผู้แสดง หรือชีวิตจริง ๆ ตามความเป็นอยู่ ถ้าใครต้องการรู้ความจริงก็ไปดูสภาพชีวิตจริง ดีกว่าไปดูภาพยนตร์ชีวิต ดังนั้นความเป็นจริงกับประสบการณ์สุนทรียะมีส่วนคล้ายคลึงกันเพียงส่วนน้อย และแตกต่างกันคนละโลกทีเดียว
เมื่อเราไปชมนิทรรศการจิตรกรรม เห็นทิวทัศน์ คลอง หรือหมู่บ้านชนบท เราดูเฉย ๆ คงไม่รู้สึกชื่นชม หรือได้รับประสบการณ์สุนทรียะแต่อย่างใด ตรงกันข้าม ขณะดูเราใช้จินตนาการของเราประกอบด้วย ก็รู้สึกว่าผู้สร้างเขาระบายสีได้กลมกลืนน่าชื่นชม สำหรับความคิดที่ว่าจะต้องเป็นภูมิภาพจริง ๆ หรือไม่นั่น ไม่ควรนำมาประกอบการดูของเรา เพราะการดู หรือมองเห็นของเราที่จะก่อให้เกิดประสบการณ์สุนทีรยะนั้น แนวทางหนึ่งก็คือ ควรเป็นการดูตามสีแสงและจังหวะ ที่เร้าให้เรารู้สึก หรือพิจารณาตามคุณสมบัติดังได้กล่าวแล้ว ซึ่งจะต่างกับการดูธรรมดา ๆ ที่ต้องการจะรู้เรื่อง สำหรับประสบการณ์สุนทรียะ ควรเป็นการดูพร้อมกับจินตนาการไปด้วย
จินตนาการ เป็นผลพวงของประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้นแก่เราก่อน หมายถึง เมื่อเรารับรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยตรงก่อนแล้ว ความผูกพัน ความกินใจ ยังตรึงแน่นในการรับรู้ของเราภายหลังจึงเกิดความคิดจินตนาการขึ้นว่า ถ้ามีงานต้องทำมาก่อนว่ามีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ต่อมาก็จินตนาการขึ้นว่า ถ้ามีงานต้องทำมากคนควรจะมีมือมากกว่าสองมือ หรือมีตามากกว่าสองตา เรื่องจินตนาการเป็นคนละเรื่องกันระหว่าง ความเป็นจริงกับประสบการณ์สุนทรียะ
ประสบการณ์สุนทรียะ มีความสัมพันธ์กับชีวิตเรามาก เพราะช่วยให้เราคลายจากโลกแห่งความเป็นจริง เข้าไปสัมผัสกับโลกของความสุขทางอารมณ์ ซึ่งจะช่วยประคองสุขภาพจิตให้มีพลัง รู้จักใช้เวลาว่างไม่เคร่งเครียดจนร่างกายบอบช้ำ ดังนั้นประสบการณ์สุนทรียะ จึงเป็นการรับรู้ที่กินใจทำให้เรามีความสุข โดยไม่หวังอะไรตอบแทน

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550

1. สุนทรียศาสตร์คืออะไร
ตอบ วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของความงาม คุณค่าแห่งความงามของสิ่งต่างๆที่อยู่ล้อมรอบตัวเรา

2. สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์และสังคมอย่างไร
ตอบ 1. ส่งเสริมกระบวนการคิดการตัดสินความงามอย่างสมเหตุสมผล
2. ช่วยกล่อมเกลาให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุผล
3. เสริมสร้างประสบการณ์สุนทรียะให้กว้างขวางเพื่อการดำรงอยู่อย่างสันติสุข
4. ส่งเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงามของสิ่งต่างๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรม
และนามธรรม
5. ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสภาพสิ่งการบูรณาการเพื่อการประยุกต์ใช้ให้เห็น
ประโยชน์กับชีวิตประจำวันด้วยเหตุผลและความรู้สึกที่สอดคล้องกัน

3. สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพพยาบาลอย่างไร
ตอบ วิชาชีพพยาบาลใช้สุนทรียศาสตร์ในเรื่องของการบำบัด เช่น ใช้บำบัดคนไข้โรคจิต อาจ
ใช้ในรูปของดนตรีหรือเสียงเพลง คนที่เป็นพยาบาลจะต้องมีความงดงามในจิตใจเพื่อที่
จะถ่ายทอดทางอารมณ์และพฤติกรรมที่ดีขณะปฏิบัติหน้าที่ดูแลคนไข้